สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ครบเครื่อง เรื่องจอ LCD

ครบเครื่อง เรื่องจอ LCD


จอLCD คืออะไร ??

เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
  2. Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก

เทคโนโลยี TFT LCD Mornitor

TN + Film (Twisted Nematic + Film)
Twisted Nematic (TN) คือสารประเภทนี้จะมีการจัดโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกลียว แต่ถ้าเราผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปมันก็จะคลายตัวออกเป็นเส้นตรง เราใช้ปรากฏการณ์นี้เป็นตัวกำหนดว่าจะให้แสงผ่านได้หรือไม
่ได้ Twisted Nematic (TN) ผลึกเหลวชนิดนี้จะให้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการสั่นของคลื่นแสงได้ 90? ถึง 150? คือเปลี่ยนจากแนวตั้งให้กลายเป็นแนวนอน หรือเปลี่ยนกลับกันจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้งก็ได้ ด้วยจุดนี้เองทำให้การค่า Response Time (ค่าตอบสนองสัญญาณเทียบกับเวลา) มีค่าสูง

IPS (In-Plane Switching or Super-TFT)
การจัดโครง สร้างของผลึกจากเดิมที่วางไว้ตามแนวขนานกับแนวตั้ง (เทียบกับระนาบ) เปลี่ยนมาเป็นวางตามแนวขนานกับระนาบ เรียกจอชนิดนี้ว่า IPS (In-Plane Switching or Super-TFT) จากเดิมขั้วไฟฟ้าจะอยู่
คนละด้านของผลึกเหลวแต่แบบนี้จะอยู่ด้านเดียวกันแปะ หัวท้ายเพราะย้ายแนวของผลึกให้ตั้งขึ้น (เมื่อมองจากมุมมองของคนดูจอ) เป้าหมายเพื่อออกแบบมาแก้ไขการที่มุมของผลึกเหลวจะเปลี่ยนไปเมื่อมันอยู่ ห่างจากขั้วไฟฟ้าออกไป ปัญหานี้ทำให้จอมีมุมมองที่แคบมาก จอชนิด IPS จึงทำให้สามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ข้อเสียของจอชนิดนี้ก็คือ ต้องใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวต่อหนึ่งจุดทำให้เปลืองมาก นอกจานั้นการที่มีทรานซิสเตอร์เยอะกว่าเดิมทำให้แสงจากด้านหลังผ่
านได้น้อย ลง ทำให้ต้องมี Backlite ที่สว่างกว่าเดิม ความสิ้นเปลืองก็มากขึ้นอีกด้วย

MVA (Multi-Domain Vertical Alignment)
บริษัท Fujisu ค้นพบผลึกเหลวชนิดใหม่ที่ให้คุณสมบัติ คือทำงานในแนวระนาบโดยธรรมชาติและต้องการทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียวก็ สามารถให้ผลลัพธ์เหมือน IPS เลยเรียกว่าว่าชนิด VA (Vertical Align) จอชนิดนี้จะไม่ใช้ผลึกเหลวที่ทำงานเป็นเกลียวอีกต่อไป แต่จะมีผลึกเป็นแท่ง ซึ่งปกติถาไม่มีไฟป้อนเข้าไปหาก็จะขวางจอเอาไว้ทำให้เป็นสีดำ และเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าก็จะตั้งฉากกับจอให้แสงผ่านเป็นสีขาว ทำให้จอชนิดนี้มีความเร็วสูงมาก เพราะไม่ได้คลี่เกลียว แต่ปรับทิศท
างของผลึกเท่านั้น จอชนิดนี้จะมีมุมมองได้กว้างราว 160 องศา
ปัจจุบัน บริษัท Fujisu ได้ออกจอชนิดใหม่คือ MVA (Multi-Domain Vertical Alignment) ออกมาแก้บั๊กตัวเอง คือจากรูจะเห็นว่าด้วยความที่เป็นผลึกแท่ง และองศาของมันใช้กำหนดความสว่างของจุด ดังนั้นเมื่อมองจากมุมมองอื่น ความสว่างของภาพก็จะเปลี่ยนไปเลย เพราะถูกผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง จอ Multidomain ก็จะพยายามกระจายมุมมองให้แต่ละ Pixel นั้นมีผลึกหลายมุมเฉลี่ยกันไป ทำให้ผลกระทบจากการกระมองมุมที่ต่างออกไปหักล้างกันเอง

เทคโนโลยีมอนิเตอร์แบบ LCD มีจุดเด่นหลายประการคือ

  • ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา
    ด้วยการทำงานที่ ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบบ CDT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วยให้ประหยัดพื้นที่มาก ยิ่งขึ้น
  • พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่
    จากเทคโนโลยี พื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CDT ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
  • ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง
    เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
  • ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตํ่ามาก
  • ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
    ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CDT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
  • ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลายๆแบบพร้อมกัน
    เนื่อง ด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพซ้อนจากหลายแหล่ง ข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ
    LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆตัวมาใช้งาน

ขอบคุณที่มาจาก http://www.sglcomp.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=376060

10 วิธีเลือกซีอจอ LCD

ถ้าคุณมีงบประมาณเหลือเฟือก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการให้ทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากรสนิยมส่วนตัวแล้ว 10 วิธีพื้นฐานนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังกับจอ LCD ซื้อมาเลย

1. ข้อดีและข้อเสียของจอภาพ LCD

จอภาพ LCD นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง และในบางเรื่องก็ด้อยกว่าจอภาพแบบ CRT ด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณต้องทำความเข้าใจและถามตัวเองก่อนว่าต้องการข้อดีและยอมรับกับ ข้อจำกัดของจอภาพได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดรำคาญใจในภายหลัง โดยข้อดีต่างๆ ของจอภาพ LCD ก็คือ

- มีขนาดเล็กและบาง ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากกว่า
- กินไฟน้อยกว่า
- สบายตากว่าเพราะภาพไม่มีการ Flicker
- (บางรุ่น) หมุนแสดงผลแนวตั้งได้
- น้ำหนักเบาและสามารถแขวนติดฝาผนังได้
- รูปภาพไม่มีการเสียรูปทรง
- ใช้งานพื้นที่เต็มขนาดจอภาพ
- ไม่มีคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์รอบข้างโดยเฉพาะลำโพง

ส่วนข้อเสียก็มีเช่นกันคือ

- มีมุมองที่จำกัดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
- ความคมชัดจะเปลี่ยนไปตามมุมมอง
- (ในขนาดที่เท่าๆ กับจอ CRT) จะมีราคาสูงกว่า
- (ส่วนใหญ่) มีเงาดำเมื่อภาพเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
- ความละเอียดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานมีเพียงค่าเดียว
2. ขนาดและความละเอียด

จอภาพ LCD แต่ละขนาดจะถูกออกแบบมา โดยให้มีค่าความละเอียดที่เหมาะสมและแสดงภาพได้อย่างชัดเจนเพียงแค่ค่า เดียวเท่านั้นโดยจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิตจะอ้างด้วยข้อความว่า Native Resolution (จอภาพ CRT ส่วนใหญ่จะระบุด้วยคำว่า ความละเอียดสูงสุด) เช่นจอภาพขนาด 17 นิ้วที่ส่วนใหญ่จะมีความละเอียด 1,280x1,024 พิกเซลหรือขนาด 15 นิ้วที่มีความละเอียด 1,024x768 พิกเซล ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบความละเอียดที่จอภาพระบุด้วยว่าเพียงพอต่อความต้อง การหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถใช้ความละเอียดอื่นได้ หากต้องการภาพที่มีความชัดเจน

3. ความสว่าง

จอภาพที่ผู้ผลิตอ้างว่ามีความสว่างสูงจะเป็นหลักประกันได้ดีกว่าว่า คุณสามารถนำจอภาพ LCD ไปใช้งานได้ในทุกๆ ที่โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพแสงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่โล่งที่มี ความสว่างมากๆ อย่างเช่นบนสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจอภาพที่มีความสว่าง 300Cd/m2 (แคนเดลาร์ต่อตารางเมตรหรือ nits) จะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่าและทำให้ไม่ต้องเพ่งมองเหมือนกับจอภาพที่มีความ สว่างเพียง 175Cd/m2 แต่สำหรับการใช้งานภายในบ้าน ที่ทำงานความสว่างสูงๆ นี้ก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไป

4. จุดเสีย (Dead Pixels)

ข้อบกพร่องของจอภาพที่พบได้เป็นประจำก็คือ การมีผลึกเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างจุดสีมีสถานะเป็น ON หรือ OFF แบบถาวรแทนที่จะมีสถานะที่เปลี่ยนไปตามสัญญาณภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ ซึ่งจุดเสียนี้จะเห็นเป็นจุดสีขาวสว่างๆ (หรืออาจเป็นจุดสีดำก็ได้) ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อให้สอบถามถึงเงื่อนไขการรับประกันและการเปลี่ยนจอ ภาพใหม่ให้แทนในกรณีที่จอภาพนั้นๆ มีจุดเสียเกิดขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ควรตรวจสอบดูก่อน ซึ่งวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดก็คือ การเปิดภาพหรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำให้จอภาพแสดงสีขาวได้ทั่วทั้งจอภาพ แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนจอเปลี่ยนไปแสดงสีดำแทน ซึ่งถ้าจอภาพมีจุดเสียอยู่คุณก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

5. อัตราคอนทราสต์และมุมมอง

ถ้าคุณเลือกจอภาพ LCD ก็ให้ยอมรับกับข้อด้อยในเรื่องมุมมองก่อน แต่ถ้าทำใจลำบากก็ให้คุณตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตดูก่อนว่า จอภาพนั้นมีมุมมองที่กว้างมากพอทั้งในแนวตั้งและแนวนอนหรืออย่างน้อยที่สุด 120 องศาและถ้าเป็นไปได้ก่อนที่คุณจะซื้อให้ทดสอบด้วยการมองด้วยตาเปล่าในมุม ต่างๆ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย จากนั้นให้สังเกตดูว่าภาพที่เห็นนั้นยังคงมีความชัดเจนอยู่หรืออัตราคอน ทราสต์ของภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้จริงๆ6. ความเร็วในการตอบสนอง

คุณสมบัติเฉพาะของจอภาพ LCD ข้อนี้หมายถึงเวลาที่จุดพิกเซลใช้ในการเปลี่ยนสถานะ (ON/OFF) หรือถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเวลาที่จุดพิกเซลหนึ่งๆ ใช้ในการเปลี่ยนจากการแสดงสีดำเป็นสีขาว ซึ่งหลายๆ คนน้ำตาตกมาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ซื้อจอภาพ LCD มาเล่นเกมสามมิติหรือการแสดงผลในลักษณะอื่นที่ภาพมีการเคลื่อนที่อย่างรวด เร็ว โดยในจอภาพที่มีความเร็วในการตอบสนองที่ไม่เร็วพอนั้น ภาพที่ได้จะมีลักษณะที่เป็นเงาดำหรือที่เรียกว่า Ghosting เกิดขึ้นตามมาพร้อมกับภาพด้วย ดังนั้นคุณควรเลือกจอภาพที่มีความเร็วสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือ อย่างน้อย 16 มิลลิวินาทีหากคุณต้องการนำมาใช้งานในลักษณะดังกล่าว


7. การปรับ หมุนและแสดงผลในแนวตั้ง

ความสามารถพิเศษของจอภาพ LCD ที่หาไม่ได้จากจอภาพแบบ CRT ก็คือ การหมุนแสดงผลในแนวตั้งซึ่งการแสดงผลลักษณะนี้จะทำให้คุณสามารถแสดงหน้า เอกสารต่างๆ หรือหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคลิกปุ่มเลื่อนขึ้นลงแต่ อย่างใด แต่อย่างไรก็ดีคุณสมบัตินี้จะมีเฉพาะจอภาพบางรุ่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่า นั้น นอกจากนั้นคุณควรตรวจสอบก่อนด้วยว่า หลังจากที่หมุนแล้วจอภาพมีระบบล็อคที่แน่นหนา ไม่แกว่งไปแกว่งมาและที่สำคัญคุณยังปรับระยะก้มเงยลักษณะต่างๆ ได้โดยที่ไม่มีการติดขัดใดๆ

8. ระบบการควบคุม

แม้ว่าจอภาพจะถูกตั้งค่ามาอย่างเหมาะสมแล้ว แต่ก็บ่อยครั้งที่คุณจำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติมดังนั้น นอกจากระบบอัตโนมัติสำหรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ ที่มีให้แล้ว จอภาพควรมีระบบควบคุมที่ใช้งานได้สะดวกด้วยหรืออย่างน้อยปุ่มปรับค่าต่างๆ ก็ควรอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ง่าย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณจะรู้สึกหงุดหงิดมากทีเดียวเมื่อต้องการปรับค่าแต่ละครั้งแม้ว่าจะต้อง การเพียงแค่เพิ่มความสว่างก็ตาม

9. พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อและแสดงผลโดยใช้สัญญาณภาพในระบบดิจิตอลนั้นจะให้ภาพที่มี คุณภาพสูงกว่าอนาล็อกทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจอภาพ LCD ที่คุณเลือกทำได้ให้ตรวจสอบด้วยว่านอกจากพอร์ต D-Sub แล้วจอภาพยังมีพอร์ต DVI ให้มาด้วย แต่อย่างไรก็ดีหากการ์ดแสดงผลที่คุณใช้ไม่มีพอร์ต DVI-I ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่คุณจะเลือกใช้จอภาพ LCD ที่มีพอร์ตสำหรับสัญญาณดิจิตอลเช่นนี้

10. การรับประกันจากผู้ขาย

เนื่องจากจอภาพ LCD นั้นไม่แข็งแรงเหมือนกับจอภาพ CRT ดังนั้นคุณควรพิจารณาด้วยว่าจอภาพมีอายุการรับประกันที่นานพอ รวมถึงการส่งซ่อมในกรณีฉุกเฉินและตรวจสอบการเปลี่ยนอะไหล่สำคัญๆ อย่างเช่นหลอดไฟ Backlight สำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย

*******************************
ขอบคุณที่มาแหล่งข้อมูล http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?f=6&t=24199&start=0&st=0&sk=t&sd=a




วิธ๊ตรวจสอบ Dead Pixal
 
จอ LCDเทคโนโลยีมอนิเตอร์ LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น คำเตือน: ทางเราไม่ได้มีการประกันในการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด ดังนั้นควรพิจารณาด้วยตัวเอง

สำหรับ ผู้ใช้งาน จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD อาจเคยพบปัญหาหน้าจอมีจุด สีแดงสว่างปรากฏขึ้น จุดสีแดงนี้เราเรียกว่า "Dead Pixel" ซึ่งถ้าจอ LCD ของคุณอยู่ในประกัน ก็แนะนำให้รีบไปเปลี่ยนได้เลยครับ แต่ถ้าไม่มี ลองมาแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ครับ (ยังไงก็ดีกว่าทนใช้ไป ใช่ไหมครับ)

 

    วิธีที่ 1
  1. ปิดหน้าจอ LCD
  2. นำผ้านุ่มๆ มาเช็ดบริเวณที่เป็น Dead Pixel สัก ครึ่งนาที ถูเบาๆ แต่แรงนิดหน่อย(เพื่อให้เกิดความร้อนบริเวณนั้น)
  3. ทดลองเปิดหน้าจอใหม่ และสัมผัสบริเวณ Dead Pixel อีกครั้ง (อาจมีเสียงเล็กน้อย)
  4. สังเกตุดูอาการอีกครั้ง ถ้าไม่หายลองวิธีต่อไป
    วิธีที่ 2
  • ดาว์นโหลด โปรแกรมมาแก้ไข เป็นโปรแกรมที่พยายามทำการ Reset Pixels หรือบางคนอาจเรียกว่า Pixels Exercise ทั้งนี้อาจมีส่วนช่วยให้ Dead Pixel มีลดปัญหาลง หรือแก้ไขได้

    • JScreenFix applet
      โปรกรมที่รันด้วย Jave อาจใช้เวลานานนับชั่วโมงในการแก้ไข

    • Dead Pixel Tester
      โปรแกรมที่รันแบบอัตโนมัติ รายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากเจ้าของเว็บ

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก http://gooab.igetweb.com/index.php?mo=3&art=172584 


 


วิธีการดูแลรักษาจอLCD 

 

สำหรับผู้ใช้มอนิเตอร์จอแบนที่เป็น LCD (หรือโน้ตบุ๊ก) พอนานๆ ไปคุณจะพบว่า หน้าจอมีจุดด่าง หรือรอยขีดข่วนเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอไม่ชัดเจน วินทิปครั้งนี้ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูแลหน้าจอให้สะอาดใหม่ใสปิ๊งอยู่เสมอด้วยตัวคุณเองครับ ก่อนจะทำความสะอาดขั้นแรกให้คุณปิดการทำงานของจอ LCD ก่อน เพื่อว่าคุณจะได้สามารถมองเห็นรอยเปื้อน หรือร่องรอยของจุดด่างต่างๆ ได้อย่างชัดเจน จากนั้นหาผ้าฝ้ายที่ “อ่อนนุ่ม” แช่น้ำอุ่น แล้วบิดให้แห้งพอสมควร เช็ดเบาๆ บนหน้าจอจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา (ตามแต่ความถนัดของคุณ) แต่อย่าใช้วิธีเช็ดเป็นวงกลมโดยเด็ดขาด!!! หากปฎิบัติตามด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ไม่สามารถทำให้หน้าจอดูสะอาดขึ้นมาได้ ให้คุณลองใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำสะอาดแทน อย่างไรก็ตาม หลักการทำความสะอาดหน้าจอ LCD ก็คือ ผ้าฝ้ายที่ใช้เช็ดจะต้องล้างให้สะอาดก่อนลงมือเช็ดทุกครั้ง และไม่ควรใช้การพ่นน้ำ (หรือ น้ำ + น้ำส้มสายชู) เข้าไปที่หน้าจอโดยตรง แล้วตามด้วยผ้าแห้งเช็ดถูเข้าไปอีกที ซึ่งด้วยวิธีนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้หน้าจอของคุณสะอาดขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้หน้าจอมีปัญหาการแสดงผลในอนาคตได้อีกด้วย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเช็ดกระจก หรือชุดทำความสะอาดที่ส่วนผสมของแอมโมเนีย เนื่องจากมันจะทำให้พื้นผิวหน้าจอ LCD กลายเป็นสีเหลือง (สังเกตได้จากสีขาวที่เห็นในหน้าจอจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนๆ) หวังว่า คำแนะนำง่ายๆ ต่อไปนี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้จอ LCD ทุกท่านนะครับ
ขอบคุณที่มาจาก http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=404544




ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view