สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความรู้เกี่ยวกับ DIGITAL CAMERA

ความรู้เกี่ยวกับ DIGITAL CAMERA

ความรู้เกี่ยวกับ DIGITAL CAMERA

กล้องดิจิตอลสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มหลักดังนี้

  1. กล้องระดับคอนซูเมอร์

    สำหรับผู้ใช้กล้องทั่วไปนั้น จะว่าไปแล้วก็คือกลุ่มผู้ใช้กล้องที่กำลังเติบโตขึ้นมาก ด้วยจุดเด่นที่นำมาก็คือราคาต่ำ การออกแบบกล้องจะเน้นให้มีขนาดเล็กและเบา แต่ก็ต้องแลกด้วยประสิทธิภาพที่จำกัด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำไปถ่ายภาพเล็กๆ น้อยๆ แต่อาจจะไม่เหมาะนักถ้าต้องนำไปถ่ายภาพในที่มืด เนื่องจากว่ามีค่า ISO ต่ำ แสงแฟลชบนตัวกล้องนั้นไม่สว่างมากระบบการซูมที่ไม่ดี ระยะมาโครอยู่ในระดับปานกลาง ความละเอียดของ CCD จะมีความละเอียดต่ำสุด ในขณะที่กล้องระดับโปรจะใช้ความละเอียดอยู่ที่ 6 เมกะพิกเซิล แต่กล้องระดับคอนซูมเมอร์นี้จะมีความละเอียดอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง สามเมกะพิกเซิลเท่านั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับสภาพล่ะครับว่าฟังก์ชั่นที่ใช้งานจำกัดจริงๆ แต่ก็ใช่ว่ากล้องระดับนี้จะคุณภาพไม่ดี เพราะแต่ละรุ่นก็มีจุดเด่นในตัวเอง
  2. กล้องระดับโปรซูเมอร์

    มีจุดเด่นที่ CCD มีความละเอียดสูง ตัวกล้องมีลูกเล่นและความสามารถอยู่ในดับสูง สามารถให้ผู้ใช้ปรับรายละเอียดในการถ่ายภาพได้เกือบทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง สำหรับ CCD ที่ใช้กับกล้องโปรซูเมอร์นี้ในปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเมกะพิกเซล ตัวกล้องสามารถปรับระยะโฟกัสได้ มีระยะมาโครที่ต่ำตั้งแต่ 2 ถึง 10 เซนติเมตร มีโหมด Scene ที่หลากหลายให้เลือกใช้ถ่ายภาพได้ตามสถานการณ์ การซุมภาพจะมีตั้งแต่ 4X จนถึง 10X ทั้งในแบบ Digital Zoom และ Optical Zoom เลนซ์ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นเลนซ์ที่มีความกว้างมาก มีค่า ISO สูง ปรับได้หลายระดับตั้งแต่ 100-400 ปรับค่า White Balance ได้ มีฟิลเตอร์ถ่ายภาพขาวดำและภาพซีเปียได้
  3. กล้องระดับโปร

    กล้องส่วนใหญ่จะเป็นกล้อง Digital SLR สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เทียบเท่ากับกล้องฟิลม์ที่เป็น SLR ตัวกล้องในระดับนี้จะมีขนาดใหญ่ ไม่มีลูกเล่นสำเร็จรูปมาก เพราะงานในระดับนี้ต้องขึ้นกับผู้ใช้งานด้วยว่าต้องการภาพแบบใด และใช้กับเลนซ์แบบใด โดยกล้องที่จำหน่ายกันส่วนใหญ่จะจำหน่ายกันแต่ Body ซึ่งผู้ใช้งานต้องไปหาซื้อเลนซ์มาเองต่างหาก ความละเอียดของจอ LCD จะอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านเมกะพิกเซลขึ้นไป ซึ่งกล้องระดับนี้จะมีจุดเด่นที่ความคมชัดและความสามารถในการสร้างมิติของภาพแล้วยังสามารถเขียนไฟล์ภาพในรูปแบบของ RAW ไฟล์ได้ด้วย

เทคโนโลยี Sensor ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน

สำหรับ Sensor ที่กล้องดิจิตอลแต่ละตัวนำมาใช้ ควรมีความละเอียดของ CCD ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านเมกะพิเซล CCR ( Charge Coupled Device) คืออุปกรณ์ชิ้นเล็กที่จะมีหน้าที่ในการแปรสัญญาณแสงที่ตกกระทบให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะส่งให้กล้องนั้นแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นภาพ และแสดงให้เราเห็นในหน้าจอนี่เอง แต่ถ้ากล้องดิจิตอลมีแต่ CCD ในเทคโนโลยี CCD สามารถแบ่งออกไปอีก




CCD Sensor

CCD นี้ก็คือตัว Sensor ที่แต่ละพิกเซลจะมีตัวที่ทำหน้าที่ในการตรวจความเข้มของแสงที่เข้ามากระทบบน CCD ก่อนที่ CCD นั้นจะแปรค่าแสงเหล่านั้นเป็นตัวเลขเพื่อที่จะช่วยให้ตัวกล้องสามารถนำไปใช้งานเพื่อแสดงผลออกมาเป็นภาพได้ กล้องของ Fuji นั้นจะใช้เทคโนโลยีที่พัฒนา CCD นั้นให้มีความละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ Super CCD สำหรับ Super CCD นี้ Fuji จะพัฒนาให้แต่ละพิกเซลใน CCD นี้มีลักษณะเป็น 8 เหลี่ยม ในขณะที่ CCD ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม และทาง Fuji แจ้งว่าการทำพิกเซลให้เป็น 8 เหลี่ยมนี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มจำนวนพิกเซลของ CCD และจำทำให้สามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดสูงขึ้น หมุนพิกเซลไป 45 องศาจัดเรียงพิกเซลใหม่เป็นรูปรังผึ้ง ความละเอียดในแนวตั้ง / นอน สูงกว่าในแนว 45 องศา เหมาะกับการมองเห็นของมนุษย์ความละเอียดในแนวตั้ง / นอน ต่ำกว่าในแนว 45 องศา ไม่เหมาะกับการมองเห็นของมนุษย์ ความละเอียดโดยรวมของ Super CCD สูงกว่า CCD แบบเดิมถึง 60%CCD แบบเดิมใช้วิธีการสร้างจุดที่เรียกว่า “Interpolation” ซึ่งได้ภาพที่คุณภาพไม่ค่อยดีนัก เนื่องจาก

  • ขนาดพิกเซล (โฟโต้ไดโอด) มีขนาดเล็ก
  • แต่ละพิกเซลมีระยะห่างกันมากพิกเซลใหม่มีความละเอียดในแนว ตั้ง / นอน ต่ำ
    แต่วิธีการ “Generation” ใน Super CCD มีคุณภาพที่สูงกว่า และใกล้เคียงกับพิกเซลเดิมเนื่องจาก
  • Super CCD มีขนาดพิกเซลใหญ่
  • แต่ละพิกเซลอยู่ใกล้กัน
  • จุดที่ Generate ขึ้นใหม่ มีความละเอียดในแนว ตั้ง / นอน สูง





อุปกรณ์เก็บข้อมูล

SmartMedia


เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบ Solid State ที่เป็นที่นิยมใช้กันในช่วงแรก เป็นเทคโนโลยีที่บริษัท Toshiba เปิดตัวขึ้นมาเมื่อปี 1995 มีจุดเด่นอยู่ที่ความบางแค่ 0.8 มิลลิเมตร และสามารถพกไปใช้งานได้สะดวก กินไฟต่ำ แต่ในขณะเดียวกัน SmartMedia ก็มีจุดด้อยอยู่ตรงที่ขนาดของความจุต่อแผ่นนั้นจะถูกจำกัดอยู่ที่ 128 เมกะไบต์ และความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลนั้นจะน้อยกว่าสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่น SmartMedia นั้นจะมีอยู่สองแบบ และทั้งสองชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าต่างกัน โดยรุ่นแรกจะใช้ไฟ 5V และอีกรุ่นจะใช้ไฟ 3.3V



Compact Flash และ Microdrive


เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1994 ถ้าจะนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็เป็นสื่อบันทึกข้อมูลของกล้องดิจิตอลที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุด ด้วยจุดเด่นที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็กพอกับ SmartMedia แต่หนากว่าเล็กน้อย (3.3 มิลลิเมตร) มีขนาดที่หลากหลายตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ ไปจนถึง1 กิกะไบต์ กินไฟต่ำ สามารถเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า SmartMedia เกือบเท่าตัว แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลนั้นพอกัน CompactFlash สำหรับ Compact Flash สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท แบบแรกหรือแบบดั้งเดิมนั้นจะเป็น Compact Flash ที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Solid State Memory แต่เนื่องจากเจอข้อจำกัดในด้านความจุของข้อมูลที่จะมีจำกัด ทำให้บริษัท IBM ได้พัฒนา Compact Flash Type II ขึ้นมาซึ่งเริ่มเปิดตัวด้วยความจุสูงถึง 340 เมกะไบต์ มีจุดเด่นที่การทำงานภายในจะคล้ายกับฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก เก็บข้อมูลได้มาก เขียนและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้ความจุสูงสุดของ Compact Flash Type II อยู่ที่ 1 กิกะไบต์ แต่ว่า Compact Flash Type II นี้จะกินไฟมาก ทำให้เปลืองแบตเตอรี่มากขึ้นกว่า Compact Flash แบบแรก Compact Flash Type II ส่วนใหญ่มักจะเป็นกล้องระดับโปรซูมเมอร์ถึงกล้อง Digital SLR ระดับโปรซึ่งการใช้งานในระดับสูงนั้นจะต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก

Memory Stick


พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Sony Memory Stick นี้มีความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลพอกับ Compact Flash มาก เป็น Memory แบบ Solid State มีความจุที่หลากหลาย แม้ว่าในระยะแรกของการเปิดตัวจะทำความจุได้สูงสุดที่ 64 เมกะไบต์ และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นรองอยู่มากแต่ทาง Sony ก็พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ปัจจุบันสามารถพัฒนาให้มีความจุสูงสุดที่ 4 กิกะไบต์ได้สามารถนำ Memory Stick ไปใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นของ Sony ได้ อย่างเช่นกล้อง DV หรือ แม้แต่นำ Memory Stick ไปไว้เก็บไฟล์เสียงหรือ MP3 ได้เช่นกันv

CD และ Floppy

ยังมีการบันทึกข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งคือกล้องที่ใช้สื่อบันทึกข้อมูลแบบ CDR และแผ่น Floppy สำหรับกล้องที่มีไดร์ฟ CDR ในตัวนั้น จุดเด่นที่น่าสนใจอยู่ที่สามารถถ่ายรูปลง Buffer และเลือกภาพที่ต้องการเขียนลงบนแผ่นได้ทันที แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่ตัวกล้องนั้นจะมีน้ำหนักมาก และกินไฟค่อนข้างมากครับ ส่วนกล้องที่สามารถเขียนไฟล์ภาพลงบน Floppy นั้นก็คล้ายกันคือ ตัวกล้องจะมีขนาดใหญ่ และมีความเร็วในการเขียนข้อมูลที่ช้ามาก แต่ถ้าจะนับกันตามความจุและความสะดวกแล้วก็ต้องยอมรับว่าหาได้ง่ายกว่า

ที่มา http://www.dcomputer.com

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view