สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รูปแบบเครือข่าย(Network) คอมพิวเตอร์

รูปแบบเครือข่าย(Network) คอมพิวเตอร์

รูปร่างเครือข่าย คอมพิวเตอร์

Introduction of Network Types and Cables

     
โดยส่วนใหญ่คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรใหญ่จะติดต่อสื่อสารเน็ตเวิร์กผ่านระบบ LAN (Local Area Network) โดยเน็ต
เวิร์กธรรมดาแล้วจะมี backbone เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเป็นจุดที่จะทำการติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรผ่าน backbone จะยอมให้ผู้ใช้บนเน็ตเวิร์กนั้นสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในและภายนอกระบบ LAN
 
       เทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท เช่น Ethernet, Token Ring, FDDI และ Wireless LAN เป็นต้น แต่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งอีเธอร์เน็ตเองยังจำแนกออกได้หลายประเภทย่อย ขึ้นอยู่กับความเร็ว โทโปโลยี (Topology) และสายสัญญาณที่ใช้ เทคโนโลยี LAN แต่ละประเภทมีทั้งหัวข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร

โทโปโลยี
       โทโปโลยีของเครือข่าย (Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตามลักษณะทางกายภาพ (Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้ โทโปโลยีของเครือข่ายอาจจะมีผลต่อสมรรถนะของเครือข่ายได้ การเลือกโทโปโลยีอาจมีผลต่อ
ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่าย 

     -  สมรรถนะของอุปกรณ์เหล่านั้น
     -  ความสามารถในการขยายของเครือข่าย
     -  วิธีการดูแลและจัดการเครือข่าย

      การรู้จักและเข้าใจโทโปโลยีประเภทต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการเข้าใจประสิทธิภาพของเครือข่ายแต่ละชนิด ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะสามารถแชร์ทรัพยากรต่าง ๆ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ มันจะต้องถูกเชื่อมต่อกันก่อน เครือข่ายส่วนมากจะใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่การเชื่อมต่อแบบไร้สายก็สามารถทำได้เช่นกัน 
         อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายนั้นไม่ใช่แค่การใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อเข้าที่เน็ตเวิร์คการ์ดของแต่ละเครื่องเท่านั้น โทโปโลยีที่ต้องสัมพันธ์กับสายสัญญาณ เน็ตเวิร์ค ระบบปฏิบัติการเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ที่จะเชื่อมกันเป็นเครือข่าย
การเลือกโทโปโลยีของเครือข่ายต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะโทโปโลยีจะมีผลต่อชนิดของสายสัญญาณที่ใช้ รวมถึงลักษณะการเดินสายสัญญาณนี้ผ่านชั้น เพดาน และผนังของอาคารด้วย โทโปโลยียังเป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วย ต่างโทโปโลยีกันต้องใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลที่ต่างกัน และวิธีการนี้จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย

 ทุกเครือข่ายต้องประกอบด้วยโทโปโลยีใดโปโปโลยีหนึ่งดังต่อไปนี้



    คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการอออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) เมื่อพิจารณาการต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ดังรูป

85156topology1.gif

 




    ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณืของสถานีปลายทางหลาย ๆ สถานีคือ จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการติดตั้ง และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อระบบ รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ
    1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

41519topology2.gif

 



     
    2.  แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป

    52026topology3.gif

 



    3.  แบบบัสและต้นไม้ เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

  

19706topolog4.gif

 


   

71048topology5.gif

 





ที่มาจาก
http://www.school.net.th/library ... ology/topology.html
http://www.thaiinternetwork.com/chapter/detail.php?id=0032

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view