สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สื่อออนไลน์ควรถูกควบคุมหรือไม่?

สื่อออนไลน์ควรถูกควบคุมหรือไม่?

สื่อออนไลน์ควรถูกควบคุมหรือไม่?


6589_head_resized.jpg

 


    จะว่าไป ปีนี้นับเป็นปีที่สื่อออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ระดับโลกมากที่ สุด เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้เป็นประจักษ์พยานกับเหตุการณ์ Arab Spring หรือการลุกฮือขึ้นของประชาชนในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเพื่อ โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ โดยอาศัยเครือข่ายสังคมอย่าง facebook และ twitter เป็นสื่อ เหตุการณ์นี้ทำให้หลายฝ่ายพากันเชิดชูเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถมอบสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง แต่ว่าเมื่อเครื่องมือดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นตัวโหมกระพือความวุ่นวายใน อังกฤษนั้น ก็ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหันมาให้ความสำคัญกับการควบ คุมสื่อออนไลน์เหล่านี้ให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางที่ควร

 
6589_1_resized.jpg

 


     ความย้อนแย้งดังกล่าวนี้นำมาซึ่งคำถามต่อมาว่า ถ้าถึงเวลาแล้วที่สื่อออนไลน์ควรได้รับการจัดระเบียบใหม่ แล้ววิธีการล่ะ จะเป็นอย่างไร เราจะสามารถควบคุมข้อมูลที่วิ่งไปมาอย่างรวดเร็วไม่หยุดหย่อนได้หรือไม่ หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ไปเลยคือตัดการเชื่อมต่อไปเลยเหมือนที่รัฐบาลอียิปต์เคยทำ?
     เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของ สิทธิมนุษนชน นั่นหมายความว่าประเทศใดที่กระทำการดังกล่าว ย่อมสุ่มเสียงต่อการถูกตัดความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ถูกคว่ำบาตรทางการค้า หรือหนักๆ เข้าอาจเลยเถิดไปถึงการใช้กองกำลังเข้าจัดการได้เลยทันที แสดงให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ต รวมทั้งสื่อออนไลน์ชนิดต่างๆ ล้วนถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประชาชนสามารถใช้เป็นกระบอกเสียงได้ เหมือนใบปลิว แผ่นพับ หรือหนังสือทำเองที่เคยมีบทบาทสำคัญต่อการรณรงค์ในอดีต เมื่อสื่อกระแสหลักถูกควบคุม
     เป็นที่ทราบกันว่ารัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ขึ้นชื่อด้านการเซนเซอร์ในระดับแถว หน้าของโลก บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง facebook และ twitter ไม่สามารถใช้การได้ (อย่างเป็นทางการ) ในจีน หรือกระทั่งบังคับให้ Google เซนเซอร์เนื้อหา (ที่ทางการคิดว่า) ล่อแหลมอย่างเหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมินหรือความขัดแย้งกับทิเบต จนทำให้เกิดเหตุไม่ลงรอยกับยักษ์ใหญ่ทางด้านเสิร์ชเอ็นจิ้นรายนี้มาพักหนึ่ง แต่สุดท้ายก็อาจต้องปล่อยเลยตามเลย ไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ มีอิทธิพลระดับโลก และมีตำแหน่งเป็นถึงสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ ฉะนั้นกระบวนการระหว่างประเทศที่จะกดดันจีนในเรื่องนี้จีงไร้ผล เช่นเดียวกับที่อเมริกาทำสงครามในตะวันออกกลางที่ไม่มีใครสามารถห้ามได้
     แต่ถึงอย่างไร รัฐบาลกลางจะสามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเบ็ดเสร็จตลอดรอดฝั่ง ได้หรือ? ย้อนกลับไปเมื่อยุค 1920 สหรัฐอเมริกาได้ผ่านข้อกฏหมายห้ามขาย ผลิต และจัดส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด (Prohibition) ด้วยความตั้งใจดีที่จะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมที่อาจตามมาเนื่องการดื่มของมึน เมา รวมทั้งต้องการส่งเสริมศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลที่พอรับฟังได้ ทว่าผลอันไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นคือ ได้เกิดตลาดมืดที่แอบลักลอบผลิตสุราผิดกฏหมายมากมาย อย่างเช่นเหล้ามูนไชน์ (moonshine) ที่ได้ชื่อมาจากกรรมวิธีการต้มเหล้าอย่างผิดกฏหมายบริเวณกลางแจ้งใต้แสง จันทร์ และเหล้าเถื่อนพวกนี้เองที่เป็นแหล่งทำเงินชั้นดีให้กับบรรดาแก๊งมาเฟียและ เจ้าพ่อ (ลองหาภาพยนตร์แนวนี้อย่าง The Godfather มาดูแล้วจะเห็นว่ามีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้อย่างชัดเจน) ที่เริ่มหันมาโดยใช้วิธีนี้ในกาหาเงินนอกจากการค้าประเวณี การพนัน และการปล้นเหมือนอย่างเคย อีกทั้งบางส่วนได้กลายมาเป็นเจ้าของร้านเหล้าผิดกฏหมาย (speakeasy) กลับเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย ข้อสรุปง่ายๆ ของเคสนี้คือ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ! จนกระทั่งต่อมารัฐบาลสหรัฐได้ออกกฏหมายแก้โดยทำให้กฎหมายห้ามขายเหล้ากลาย เป็นโมฆะไป

6589_2_resized.jpg

 

ทางการกำลังเทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทิ้งลงท่อ เมื่อกฏหมายห้ามขาย/ผลิตบังคับใช้

     แม้ว่าจะไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถสร้างสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เอง เหมือนต้มเหล้าโดยที่ไม่ต้องผ่าน ISP ประเด็นชวนคิดอาจไม่ใช่ว่าเราควรออกกฏระเบียบควบคุมการใช้หรือไม่ หรือด้วยวิธีใด แต่อยู่ที่เราจะออกไปทำไมมากกว่า เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าคงจะไม่มีอะไรจะมาสามารถต้านทางแรงปรารถนาของมนุษย์ ได้
     จริงอยู่ที่ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือก่อความวุ่นวาย วิธีที่ดีที่สุดอาจเป็นการนำหนามยอกเอาหนามบ่ง เมื่อรู้ดีว่าผู้ก่อการจลาจลใช้ BBM (Blackberry Messenger) เป็นหลักในการติดต่อสื่อสารกัน ตำรวจอังกฤษจึงหันมาใช้ Flickr บริการแกลลอรี่ออนไลน์ของ Yahoo! ในการโพสต์ภาพผู้ต้องสงสัยเพื่อให้ชาวออนไลน์ทั้งหลายช่วยกันตามหาตัวมาลง โทษ ซึ่งก็ได้ผลดี แถมผู้กระทำผิดบางคนยังบ้าพอที่จะโพสต์ภาพตัวเองพร้อมกับของกลางที่ขโมยมาลง facebook โดยไม่ได้นึกเลยว่านี่เป็นการแปะป้ายบอกทางเรียกตำรวจมาเคาะประตูบ้านชัดๆ!
     บางทีอาจไม่มีกฏเกณฑ์ทางกฏหมายใดมีประสิทธิภาพพอที่จะสร้างกฏระเบียบรองรับ โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทุกวัน ทางเดียวทีมีประสิทธิภาพที่สุดคือผู้ใช้งานอย่างเราต้องช่วยกันสอดส่องดูแล สร้างข้อกำหนดอันเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ใช้งานเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งอำนาจที่ เหนือกว่าเราแต่อย่างใด




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://www.i3.in.th/content/view/6589


Tags : สื่อออนไลน์ social network

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view