สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตรวจสอบรูปข่าวลือง่าย ๆ ด้วย Google Image Search

ตรวจสอบรูปข่าวลือง่าย ๆ ด้วย Google Image Search
ตรวจสอบรูปข่าวลือง่าย ๆ ด้วย Google Image Search

 

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก @Mhafai  

         
การ ไหลมาของมวลน้ำจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะทะลักเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ชาวกรุงตื่นตระหนกไม่น้อย และยิ่งเหตุการณ์ทำท่าจะวิกฤติมากขึ้นเท่าไหร่ การโพสต์และแชร์ข่าวผ่านช่องทางออนไลน์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

         
แต่ทว่าข่าวสารจำนวนมากนั้น ก็ยังแฝงด้วยข่าวลวง ข่าวลือ หรือรูปภาพที่หยิบยกขึ้นมาประกอบสถานการณ์ โดยอ้างว่าเป็นภาพในเหตุการณ์ขณะนี้ ทั้งที่ความจริงเป็นภาพที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวเลย แต่ถูกหยิบขึ้นมาสร้างความตื่นตระหนก และความรู้สึกต่าง ๆ นานา ให้เกิดขึ้นกับชาวกรุง

          ดังนั้นแล้ว หากคุณได้รับการแชร์ภาพถ่ายอะไรที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นภาพในเหตุการณ์นี้จริง หรือไม่ หรือเป็นภาพตัดต่อเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิด เราควรตรวจสอบก่อนที่จะเชื่อภาพนั้น โดยเรามีวิธีดี ๆ จากเว็บไซต์ mhafai.com มาช่วยคุณตรวจสอบภาพต้องสงสัยนั้นอย่างง่าย ๆ ดังนี้


ตรวจสอบรูปข่าวลือง่าย ๆ ด้วย Google Image Search โดย mhafai.com
  
         
พัก นี้ใน Social network อย่าง Facebook และ Twitter มีคนแบ่งปันรูปพระราชกรณียกิจของในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ โดยบางรูปมีการเติมคำอธิบายด้วยการใส่วันที่ใหม่เข้าไป และล่าสุดก็เป็นรูปนายกยิ่งลักษณ์ถือมือถือ Blackberry ทำหน้ายิ้มแย้มถ่ายรูปอยู่บนเฮลิคอปเตอร์แล้วก็ด่าว่าสถาณการณ์นี้ยังถ่าย รูปมือถือเล่นอีกเหรอ

          อยากให้หลาย ๆ คนหยุดคิดสักนิดนึงและหาว่าภาพพวกนี้มีที่มาเป็นอย่างไร ใช่ที่พวกเราคิดกันหรือเปล่า วิธีหาก็ง่าย ๆ ยิ่งเป็นรูปภาพด้วยแล้วยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ Google เพิ่มการรองรับการค้นหาด้วยรูปด้วยไม่นานมานี้โดยให้ไปที่
http://www.google.com/imghp แล้วเราจะเห็นรูปกล้องถ่ายรูปอยู่ในช่องค้นหาลองคลิกขึ้นมา


google1.jpg 

          ให้เราใส่ url ของรูปหรืออัปโหลดไฟล์รูปภาพที่เรามีอยู่เข้าไป แค่นี้ Google ก็จะแสดงผลการค้นหาให้เราได้แล้ว ขอยกตัวอย่างสองรูปคือ รูปสมเด็จพระเทพฯ ประทับอยู่บนรถ GMC กับรูปนายกยิ่งลักษณ์ถ่ายรูป

          วิธีการเอาลิงก์ของรูปภาพก็ง่าย ๆ แค่คลิกขวาแล้วเลือก คัดลอกที่ตั้งภาพ (อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเบราว์เซอร์)


google3.jpg 

          ดูจากวันที่นะครับ ภาพข่าวของสมเด็จพระเทพฯ เป็นภาพที่ท่านเสด็จไปช่วยน้ำท่วมที่โคราชเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว



google4.jpg 


             ส่วนรูปนายกฯ เป็นภาพที่ถ่ายขึ้นตอนกำลังหาเสียงเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนก่อนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



google2.jpg 

          เห็นไหมครับว่าแค่ใช้เทคโนโลยีให้เป็นกันสักนิด หาที่มาของรูปนั้นกัน เราก็ไม่ต้องมาหลงเชื่อข่าวลือผิด ๆ แล้วก็ด่ากันไปมาไม่รู้จักหยุดหย่อน ก่อนจากกันขอแปะโพสต์ที่แปะไว้บน Facebook และ Google+ ของผมหน่อย

หลายคนคงเคยเห็นโฆษณานี้มันช่างเข้ากับสถานการณ์ตอนนี้ยิ่งนัก

          - เผย แพร่กันเข้าไปสิ ภาพพระราชกรณียกิจเก่า ๆ เมื่อหลายปีที่แล้วเติมวันที่ใหม่เข้าไป ทั้งที่ท่านไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องเกี่ยวข้องแล้ว ทำอย่างนี้อาจถูกติดคุกไม่รู้ตัว

          - เผย แพร่กันเข้าไปสิ รูปนายกฯ เดินสะพานไม้ ใส่รองเท้าบูท แล้วเอามานินทาด่ากันให้สนุกปากไปวัน ๆ ขอให้กูได้ด่าเป็นพอ ทั้งที่เราไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

          - และอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน

         
ณ วินาทีนี้เราต้องมาแบ่งปันข้อมูลว่าจุดไหนน้ำท่วมบ้าง และวิธีการป้องกันหรือเอาชีวิตรอดในยามน้ำท่วม ใครมีเงินก็บริจาค ใครมีแรงก็ไปทำงานอาสา (ใจหล่อ,สวยมาก) ถ้ามัวแต่เถียงแต่ด่าแต่นินทากันอย่างนี้ คงได้ ชิบ หาย ตามโฆษณาเป็นแน่แท้



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://hilight.kapook.com/view/63938

Tags : ตรวจสอบ ข่าวลือ Google Image Search

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view